วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ระดับของการจัดการ

          ตำแหน่งด้านการจัดการในกิจการสามารถจำแนกได้เป็น 3 ระดับ คือ การจัดการระดับสูง (ประธานและรองประธาน) การจัดการระดับกลาง (บุคคลที่รับผิดชอบสำหรับการปฏิบัติงาน ระหว่างการจัดการระดับสูงกับการจัดการระดับต้น) และการจัดการระดับต้น (บุคคลที่รับผิดชอบโดยตรงต่อการควบคุมบคคลต่างๆที่เป้นผู้ผลิตของกิจการ 
          1. การจัดการระดับสูง ( Upper-level management) ผู้บริหารระดับสูงมีความรับผิดชอบเริ่มแรกในการกำหนดการเคลื่อนไหวในอนาคตของบริษัทที่เรียกว่า การวางแผนกลยุทธ์ (Strategic planning) ซึ่งเป็นการกำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์และแผนต่างทั้งด้านบริษัทและสภาพแวดล้อมภายนอก การตัดสินใจด้านการวางแผนกลยุทธ์และข้อมูลข่าวสารมีความจำเป็นที่จะแสดงให้เห็นว่าเป็นธรรมชาติ ที่ไม่มีรูปแบบแน่นอนจึงไม่สามารถกำหนดสูตรเฉพาะลงไปได้ ดังนั้นผู้บริหารจึงต้องสามารถถอดทนต้อสิ่งที่ไม่แน่นอนจำนวนมากมายของสภาพแวดล้อมในการตัดสินใจ ในข้อเท็จจริงแล้วการตัดสินใจจำนวนมากได้รับการบรรยายในลักษณะโดยสัญญาณซึ่งเป็นการรวบรวมจำนวนของข้อมูล Hard data จำนวนเล็กน้อยกับข้อมูล Soft data จำนวนมากมีนักวิชาการกล่าวว่าผู้บริหารระดับสูงในทุกๆองค์กรแตกต่างจากผุ้บริหารระดับกลางและระดับต้นในด้านความสามารถในการใช้ความเข้าใจอันลึ้กซึ้งทำการตัดสินใจในการทำงาน ผู้บริหารเหล่านั้นจึงมีสัญชาตญาณหรือวิสัยทัศน์ในสิ่งที่กำลังจะมาถึงและทราบถึงวิธีการนำองค์กรของเขาเพื่อตอบสนองวิสัยทัศน์เหล่านั้น ก่อน ค.ศ. 1980 เทคโนโลยีการสื่อสารและคอมพิวเตอร์มีผลกระทบต่อกระบวนการตัดสินใจของการจัดการระดับสูงเพียงเล้กน้อย แต่ในปัจจุบัน MIS กำลังแผ่ขยายขอบเขตออกไปอย่างกว้างขวางในฐานะเป็นเครื่องมือของการแข่งขันอย่างหนึ่ง การจัดการระดับสูงเริ่มเข้ามาเกี่ยวข้องโดยตรงกับการใช้เทคโนโลยีและเผชิญหน้ากับปัญหาด้านพื้นฐานของเทคโนโลยีมากขึ้น นอกจากนั้นสมาชิกจำนวนมากของผู้บริหารรุ่นใหม่ที่กำลังทำงานไต่เต้าให้สูงขึ้นไปได้ใช้คอมพิวเตอร์ในสถานศึกษาหรือในตำแหน่งระดับต้น เมื่อพวกเขาเลื่อนตำแหน่งขึ้นไปในระดับสูงจึงเกิดการตระหนักถึงวิธีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information technology) ที่สามารถช่วยงานขององค์กรมากกว่าผู้บริหารหัวสมัยเก่า อย่างไรก็ดี ทักษะด้านเทคนิคที่ผู้บริหารได้รับมาผู้บริหารจะต้องเอาใจใส่เพราะเทคโนโลยีมีศักยภาพในการเปลื่ยนแปลงการแข่งขันหรือจัดหาผลิตภัณฑ์ให้แก่บริษัท 
          2. การจัดการระดับกลาง (Middle-level managent) ความต้องการข้อมูลข่าวสารของการจัดการระดับกลางแตกต่างไปจากการจัดการระดับสูง เพราะการจัดการระดับกลางเกี่ยวข้องกับการวางแผนกลยุทธ์วิธี (Tactical planning) และการควบคุมเป็นส่วนใหญ่ (เป็นการกำหนดแนวทางที่ดีที่สุดเพื่อให้งานสำเร้จผู้บริหารระดับกลางจะบอกถึงวิธีปฏิบัติงานในขอบเขตเฉพาะเจาะจงของเขา พวกเขาจะต้องเข้าใจสิ่งที่จะต้องปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมในการแปลงกลยุทธ์การเงิน การขายและเป้าหมายของการผลิตไปสู่ผลลัพธ์ที่ต้องการ เพราะผู้บริหารระดับกลางอยู่ระหว่างแรงกดดันจากการสร้างผลผลิตให้แก่หัวหน้างานของเขา และจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยพวกเขาอยู่ท่ามกลาง 2 ระดับทำให้พวกเขาต้องการได้รับอนุญาตในการจากผู้บริหารระดับสูงและความจงรักภักดีจากฝู้ใต้บังคับบัญชา 
          3. การจัดการระดับต้น (Lower-level managemant) ผู้บริหารระดับต้นรับผิดชอบโดยตรงต่อการวางแผนและการควบคุมกิจกรมของพนักงานทั้งหลาย เพื่อให้เป้าหมายในระดับที่สูงขึ้นไปสามารถบรรลุผลกไร โดยทั่งไปผู้บริหารต้องการรายละเอียดของรายงานอธิบาย สิ่งที่จำเป็นจะต้องกระทำโดยหน่วยงานแต่ละหน่วยและวิธีการที่แต่ละหน่วยกำลังดำเนินการที่เอื้อประโยชน์ต่อเป้าหมายการผลิต โดยทั่งไปความต้องการข้อมูลข่าวสารของการจัดการระดับต้น เรียกว่าการวางแผนการปฏิบัติงาน (Opweration planning) หน้าที่ของกระบวนการดำเนินธุรกิจต่างๆได้กล่าวถึงข้อมูลทั่วไป (บัญชีรายรับ บัญชีรายจ่าย และอื่นๆ) ที่นำมาใช้ประโยชน์โดยตรงกับการจัดการระดับต้นและใต้บังคับบัญชาของพวกเขา เมื่อข้อมูลเหล่านั้นได้ถูกนำมาสรุป รวบรวมเข้าด้วยกันโดยระบบการรายงานด้านการจัดการก็จะกลายมาเป็นข้อมูลที่ผู้บริหารระดับต้น ผู้ที่ไม่ใช่นักบริหารและผู้บริหารระดับกลางจำเป็นต้องใช้เพื่อการปฏิบัติงาน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น