วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การวางแผนและควบคุม

                การวางแผน (Planning) R.N Anthony เป็นบุคคลแรกที่เสนอรูปแบบความแตกต่างของการวางแผนออกเป็นทางการใน 3 รูปแบบ คือ  การวางแผนกลยุทธ์ (Srtategic planning)  การวางแผนกลยุทธ์วิธี (Tactical planning) และการวางแผนปฏิบัติงาน (Operational planning)
                1.การวางแผนกลยุทธ์ (Strategic planning)  คือ แผนที่ระบุวัตถุประสงค์รวมขององคืกรและตำแหน่งหน้าที่ขององค์กรควรมีภาพลักษณ์ตามสภาพแวดล้อมรอบข้าง  หรือหมายถึงแผนที่เกี่ยวข้องกับวีการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่อให้เกิดผลดี  สามารถบรรลุวัตถุประสงค์โดยให้มีความเสี่ยงน้อยที่สุด ณ ระดับที่ยอมรับได้เป็นกิจกรรมการวางแผนองค์กรโดยรวมในระยะยาวซึ่งเกิดขึ้น ณ ระดับสูงสุดชององค์กร  เป็นการพิจารณาในมุมมองที่กว้างของสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันทั้งภายในและภายนอกองค์กร  ด้วยเหตุผลนี้ผังของผู้วางแผน (Planning chart) จึงเป็นตัวแทนของสิ่งที่ควรจะต้องทำให้สำเร็จ
                การวางแผนกลยุทธ์สามารถเกิดขึ้นที่ระดับอื่นขององค์กรด้วย เช่น หน้าที่ในขอบเขตของการเงิน  การตลาด และระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS) ที่มีแผนกลยุทธ์ของตนเองแยกออกจากแผนงานของกิจการ  ซึ่งจะมีผลต่อลำดับขั้นของเป้าหมายและวัตถุประสงค์ภายในองค์กรประสบผลสำเร็จจะทำให้องค์กรทั้งหมดบรรลุผลสำเร็จด้วย
                2.การวางแผนยุทธวิธี  (Tactical planning) เป็นเทคนิคของการกำหนดวิธีการที่วัตถุประสงค์องกลยุทธ์จะบรรลุผลสำเร็จ ตัวอย่าง ถ้าแผนกลยุทธ์กำหนดให้เพิ่มความเติบโตของกิจการในปีหน้าขึ้นมา 30 เปอร์เซ็นต์ แผนกลยุทธ์วิธีจะได้รับการออกแบบให้เห็นวิธีการที่จะบรรลุผลสำเร็วตามวัตถุประสงค์ เช่น แผนกลยุทธวิธีทางการตลาดอาจจำเป็นต้องเพิ่มราคาขึ้นมาอีก 10 เปอร์เซ็นต์ รวมทั้งการเพิ่มสินค้าที่ไม่สามารถเพิ่มกำไรออกไป  เรียกได้ว่าการวางแผนกลยุทธวิธีเป็นงานของผู้บริหารระดับกลาง
                3.การวางแผนปฏิบัติงาน (Operational planning)  เกี่ยวข้องกับการวางแผนในรายละเอียดโดยการแปลงกลยุทธวิธีเป็นแผนในระยะสั้น เช่น ตารางการทำงานและตารางการผลิต การวางแผนปฏิบัติงานจึงเป็นรูปแบบของงานสำหรับผู้บริหารระดับต้น
                แผนปฏิบัติงานเริ่มหลังจากการวางแผนยุทธวิธีเป็นแผนในระยะสั้น เช่น ถ้าแผนยุทธวิธีเพิ่มราคาสินค้าขึ้นมา 10 เปอร์เซ็นต์  ผู้บริหารระดับต้นต้องตัดสินใจว่าจะเพิ่มราคาสินค้าตัวไหน  วิธีการตรึงราคาในระดับปัจจุบันทำได้นานเท่าไร  และช่องทางการจัดจำหน่ายทางใดเหมาะสม  หรือถ้าบริหารระดับกลางกำหนดแผนการผลิตแสดงปริมาณสินค้าในแต่ละเดือน  ผู้บริหารระดับต้นออกแบบตารางการผลิตให้สอดคล้องกับเป้าหมายของานผลิตที่ผู้บริหารระดับกลางทำขึ้น  บทบาทข้อระบบข้อมูลข่าวสารในการวางแผน ระบบข้อมูลข่าวสารในการวางแผน ระบบข้อมูลข่าวสารต่างๆของกระบวนการเชื่อมโยงระบบการรายงานด้านการจัดการ  ที่ปรากฏขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 1960 ซึ่งเป็นเป้าหมายอย่างสำคัญต่อผู้บริหารระดับกลาง  นอกจากนั้นการเพิ่มระบบสนับสนุนการตัดสินใจ  ระบบสนับสนุนด้านการจัดการและระบบข้อมูลข่าวสารด้านการจัดการได้มีระบบข้อมูลข่าวสารที่สามารถสร้างความพึงพอใจพึงพอใจต่อความต้องการข้อมูลข่าวสารในการวางแผนกลยุทธ์ของผู้บริหารระสูง  การควบคุมและการวางแผนสถานการณ์  แผนในรูปแบบใดๆก็ตามยากที่จะบรรลุผลสำเร็จได้ถ้าไม่มีบุคคลใดแจ้งข้อมูลว่าสิ่งต่างๆได้ดำเนินการตามแผนหรือไม่เช่น  แผนกำหนดให้ผลิตสินค้า  10,000 หน่วยต่อเดือนอย่างเพียงพอเพื่อให้สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที

                ดังนั้นการจัดการที่ดีต้องมีระบบการควบคุมที่ดีเพื่อทำหน้าที่ตักเตือน  ตรวจสอบ  หรือติดตามผลของกิจกรรมต่างๆถ้ามีบางอย่างผิดพลาดหรือผิดปกติ  ฝ่ายจัดการควรจะสามารถค้นพบก่อนที่มันจะสายเกินไป  การจัดทำแผนที่สมบูรณ์แบบโดยปราศจากจุดอ่อนนั้นหาได้ยากการออกแบบมาตรการควบคุมอย่างเหมาะสมควรเป็นส่วนที่สำคัญถ้าสิ่งต่างๆเกิดความผิดพลาดไปจากแผนหลัก  โดยปกติแผนตามสถานการณ์จึงเกิดความสำคัญถ้าสิ่งต่างๆเกิดความผิดพลาดไปจากแผนหลัก  โดยปกติแผนตามสถานการณ์เกี่ยวข้องกับลักษณะเฉพาะงานที่อยู่นอกเหนือจากแผนหลัก เช่น แผนตามสถานการณ์รูปแบบหนึ่งอาจถูกวางแผนให้เกี่ยวข้องกับสถานการณ์เมื่อยอดขายจริงลดลงมา 5 เปอร์เซ็นต์หรือต่ำกว่ายอดพยากรณ์  การมีแผนตามสถานการณ์ที่พิจารณาอย่างรอบคอบเป็นอย่างดีทำให้ผู้บริหารสามารถโต้ตอบสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นได้ทันทีทันใดโดยไม่สูญเสียเวลา  ไม่ต้องคลำหาทางแก้ปัญหาหรือสามารถเข้าสู่วิธีการจัดการในช่วงภาวะวิกฤตได้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น